วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

รายงานภูมิศาสตร์


ภาคตะวันออก
ลักษณะทางกายภาพ
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/61.jpg

      ที่ตั้งและขนาดภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีพื้นที่หลายรูปแบบ ทั้งภูเขา ที่ราบลูกฟูก ที่ราบลุ่มและที่ราบชายฝั่ง เป็นภาคที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทั้งนี้เพราะมีชายหาดที่สวยงาม ในปัจจุบันพื้นที่นี้ได้รับการพัฒนาเป็นเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออกจึงเป็นภาคที่มีความเจริญอย่างรวดเร็ว ที่ตั้งของภาคอยู่ที่ระหว่างละติจูด 12 องศาเหนือ ถึง 14 องศาเหนือ และลองจิจูด 101 องศาตะวันออก ถึง 103 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนต่าง ๆ ดังนี้
    1.ทิศเหนือ จรดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    2.ทิศใต้ จรดทะเลด้านอ่าวไทย
   3.ทิศตะวันออก จรดประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
   4.ทิศตะวันตก จรดภาคกลาง
      พื้นที่ของภาคตันออก ประกอบด้วย 7 จังหวัด คือ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว และตราด จังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ติดต่อกับทะเล คือ จังหวัดปราจีนบุรี และสระแก้ว ภาคนี้มีพื้นที่ 34,380.5 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
      ภาคตะวันออก เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดที่ราบระหว่างเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาจันทบุรีเชื่อมโยงเข้าไปยังที่ราบในประเทศกัมพูชาประชาธิปไตยเรียกว่า ฉนวนไทย ( Thai Corridor ) ภาคตะวันออกมีพื้นที่ติดต่อกับประเทศกัมพูชาธิปไตยจากจังหวัดสระแก้ว (ที่อำเภอตาพระยาและอรัญประเทศ)พรมแดนอยู่บนพื้นที่ราบฉนวนไทยต่อลงมาทางใต้แนวพรมแดนผ่านจังหวัดจันทบุรี และเทือกเขาบรรทัดในจังหวัดตราด ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันออกแบ่งออกได้ดังนี้
      1. เทือกเขาในภาคตะวันออก
เทือกเขาจันทบุรีและเทือกเขาบรรทัด
      2. ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศอีกประการหนึ่ง คือ
   -เกาะ ซึ่งในภาคตะวันออกมีเกาะมากมาย เกาะเหล่านี้เกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ส่วนที่สูงอยู่ยังเป็นเกาะ เกาะช้างในจังหวัดตราดเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 420 ตารางกิโลเมตร ในปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับนานาชาติ รองลงมา คือ เกาะกูดมีพื้นที่ 144 ตารางกิโลเมตร นอกจากนั้นมี เกาะเสม็ด เกาะล้าน ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของภาคนี้
   -ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตสวยงามที่เกิดขึ้นในทะเล ซึ่งมีคุณค่าต่อท้องทะเล และเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำ และปัจจุบันปะการังถูกทำลายด้วยสาเหตุหลายประการ เช่น การท่องเที่ยว การประมง และมลพิษทางทะเล
   3. แม่น้ำในภาคตะวันออก
แม่น้ำบางประกง, แม่น้ำจันทบุรี, แม่น้ำเวฬุ, แม่น้ำตราด, แม่น้ำระยอง
ลักษณะภูมิอากาศ
      ภาคตะวันออกมีบริเวณพื้นที่ที่เป็นชายฝั่งทะเลยาวไปตามแนวอ่าวไทย ทางตอนกลางและตอนบนของภาคมีภูเขาสูง ลักษณะนี้มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศ โดยภาคตะวันออกได้รับลมมรสุมตะวันเฉียงใต้ ผ่านอ่าวไทยเข้าสู่ตอนในของภาค จึงทำให้ลักษณะภูมิอากาศของภาคตะวันออกแตกต่างกัน คือ ทำให้บริเวณชายฝั่งมีฝนตกชุก ตอนใต้ของภาคมีฝนตกน้อย และเนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่แตกต่างกัน ทำให้แบ่งภูมิภาคตะวันออกได้เป็น 2 ประเทศ คือ แบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ซึ่งอยู่ทางตอนบนของภาค และแบบมรสุมเองร้อน ซึ่งอยู่ทางชายฝั่งตะวันออกของภาค
   ฤดูกาลของภาคตะวันออก แบ่งออกเป็น 3 ฤดู ดังนี้
     
1.ฤดูฝน เริ่มต้นในเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนตุลาคม ในตอนเริ่มต้นฤดูจะมีพายุฝนฟ้าคะนองทำให้เกิดฝนตกกระจายทั่วไป ต่อจากนั้นจะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นำฝนมาตก ฝนจะตกมากที่สุดในเดือนกันยายน บริเวณด้านใต้ของเทือกเขาจันทบุรี และด้านตะวันตกของเทือกเขาบรรทัด ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้นี้บางครั้งพื้นที่ภาคตะวันออกจะได้รับพายุดีเปรสชั่นจากทะเลจีนใต้ ซึ่งจะเข้ามาสู่จังหวัดต่าง ๆ ด้านอ่าวไทย ทำให้ฝนตกมากในเดือนกันยายนและเดือนตุลาคมรองจากภาคใต้
      2.ฤดูหนาว จะเริ่มต้นประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ลมมรสุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดแรงและนำความเย็นมาสู่ภาคตะวันออก แต่ไม่หนาวมากเพราะอิทธิพลจากทะเล
      3.ฤดูร้อน เริ่มต้นเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน รวม 3 เดือน ซึ่งช่วงนี้จะมีลมพัดจากทิศใต้เข้าสู่ภาคตะวันออกอากาศจึงไม่ร้อนมาก จึงทำให้เป็นเขตท่องเที่ยวผักผ่อนตากอากาศของประชาโดยทั่วไป
ทรัพยากรธรรมชาติ
      1. ทรัพยากรดิน ภาคตะวันออกเป็นภาคที่ดินไม่ค่อยสมบูรณ์ โดยมีลักษณะของดินแตกต่างกันดังนี้
   -ดินบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งอยู่ตามลุ่มน้ำต่าง ๆ ใช้ในการเพาะปลูกข้าว บางบริเวณจะได้รับอิทธิพลจากทะเลที่หนุนขึ้นมาท่วม ทำให้คุณภาพของดินไม่ดี
   -ดินบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นเขตที่ปลูกพืชบางชนิดได้ เช่น มะพร้าว เพราะการระบายน้ำมีมากเกินไป เนื่องจากส่วนประกอบส่วนมากเป็นดินปนทราย
   -ดินบริเวณที่สูงและภูเขา อยู่บริเวณที่ราบลูกฟูกตอนกลางและตอนบนของภาค่เป็นดินร่วนปนทรายและดินลูกรัง
      2. ทรัพยากรน้ำ การที่ภาคตะวันออกมีฝนตกชุกทำให้มีปริมาณน้ำมากในฤดูฝน แหล่งน้ำที่สำคัญของภาคได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
   -แหล่งน้ำบนผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำสายต่าง ๆ อ่างเก็บน้ำ เช่น อ่างเก็บน้ำห้วยยาง จังหวัดปราจีนบุรี อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี เป็นต้น
   -แหล่งน้ำใต้ดิน จะมีมากในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำส่วนบริเวณอื่นๆมีแหล่งน้ำใต้ดินน้อย
     3. ทรัพยากรแร่ ภาคตะวันออกมีแร่ธาตุหลายชนิดแต่ปริมาณการผลิตยังไม่มากพอ แร่ธาตุที่สำคัญ ได้แก่แร่โลหะ, เหล็ก, แมงกานีส, พลวง, แร่อโลหะ, ทรายแก้ว, รัตนชาติ
      4. ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดที่มีป่าสงวนมากที่สุด คือ ตราด จันทบุรี และฉะเชิงเทรา ส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าไม้มากที่สุดโดยเปรียบเทียบจากเนื้อที่ป่าไม้ในปี พ.ศ. 2541 คือ ปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด ลักษณะป่าไม่ผลัดใบ อยู่บริเวณเทือกและเขตที่มีปริมาณฝนตกชุก

ลักษณะทางวัฒนธรรม
      1. เชื้อชาติ เชื้อชาติของประชากรในภาคนี้มีลักษณะปะปนกัน เช่นเดียวกับประชากรในทุกภาคของประเทศ และเป็นเมืองชายทะเล บางส่วนของภาคจึงมีคนจากโพ้นทะเลมาอาศัยอยู่รวมกันกับคนไทยเจ้าของถิ่นเดิม เผ่าพันธุ์จึงผสมกันหลายเชื้อชาติ ทางเหนือของภูมิภาคมีลักษณะคล้ายคนไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทางตะวันออกมีคนไทยเชื้อสายเขมร ส่วนทางใต้มีทั้งชาวญวน และชาวจีน
      2. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่มีประชากรที่นับถือศาสนาคริสต์ ในแถบจังหวัดจันทบุรี และตราดเนื่องจากในอดีตเป็นดินแดนที่ฝรั่งเศสเคยเข้ามายึดครองอยู่ รวมถึงศาสนาอื่น ๆ ด้วย
      3. ภาษา ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทยภาคกลาง แต่มีสำเนียงไปตามแต่ละท้องถิ่น นอกจากนี้ในแถบจังหวัดชายแดน
     4. การกระจายและความหนาแน่นของประชากรประชากร ในภาคเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามข้อมูลปี พ.ศ. 2544 มีถึง3,991,967 คน จังหวัดที่มีประชากรมากและหนาแน่นมาก คือ ชลบุรี ส่วนตราดมีประชากรน้อยที่สุด ประชาชนทุกภาคหลั่งไหลมาภาคตะวันออกเพราะภาคนี้เป็นเขตพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ ตามโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเป็นภูมิภาคที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทำให้ธุรกิจด้านการบริการสนองด้านการท่องเที่ยวมีมากขึ้น
เศรษฐกิจ
      เนื่องจากการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมทำให้ภาคตะวันออกมีรายได้เฉลี่ยสูงขึ้นนอกจากนี้ยังมีการประกอบอาชีพด้านการอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นและประกกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบก้าวหน้า เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตทำให้ลักษณะทางกิจกรรมทางการเศรษฐกิจของภาคนี้เป็นดังนี้
     1. ด้านการผลิต ภาคตะวันออกเป็นเขตที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะการผลิตด้านอุตสาหกรรมและบริการ แต่การผลิตด้านอื่น ๆ ก็ยังมีความสำคัญ ดังนั้น กิจกรรมด้านการผลิตที่สำคัญของภาคนี้ได้แก่
   1.1 การเพาะปลูก
   1.2 การประมง มีทั้งการประมงน้ำลึก การประมงชายฝั่ง และน้ำกร่อย
   1.3 การทำป่าไม้
   1.4 การทำเหมืองแร่ ที่สำคัญคือ แร่รัตนชาติ
   1.5 อุตสาหกรรม
      2. ด้านการบริโภค ภาคตะวันออกมีความเจริญทางเศรษฐกิจสูง โดยเฉพาะจังหวัดที่ติดทะเลด้านใต้ ลักษณะการบริโภคสินค้าและบริการของประชาชนส่วนใหญ่จะสะดวกสบาย และมีโอกาสได้เลือกได้มาก
      3. ด้านการกระจาย การที่เขตนี้มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และมีท่าเรือพาณิชย์ขนาดใหญ่ของประเทศ ทำให้เป็นภาคที่มี่สินค้าและบริการหลากหลายประเภท ทั้งในและต่างประเทศ ป4. ด้านการแลกเปลี่ยน ความเจริญของภาคนี้ ทำให้ลักษณะการแลกเปลี่ยนมีความสะดวกสบาย โดยเฉพาะด้านการเงิน เพราะมีสถาบันการเงินให้บริการทุกประเภท การแลกเปลี่ยนจึงใช้สื่อกลางประเภทเงินตรา และเครดิตมาก
การคมนาคมขนส่ง
      จากแผนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก หรืออีสเทิร์นซีบอร์ด (Eastern Seaboard)รัฐอำนวยความสะดวกในด้านสาธารณูปโภคต่างๆให้ได้แก่ถนนไฟฟ้าประปาโทรศัพท์รวมทั้งท่าเรือที่ทันสมัยจึงทำให้ภาคนี้มีความเจริญก้าวหน้าในเรื่องการคมนาคมขนส่งและการสื่อสารทุกประเภทมากกว่าภาคอื่นมาก
      1. การคมนาคมขนส่งทางบก
   -ทางรถยนต์ มีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 คือ ถนนสุขุมวิท เป็นเส้นทางหลักของการคมนาคมของภาค แต่ปัจจุบันมีการสร้างทางรถยนต์ติดต่อระหว่างภาค ระห่างจังหวัดโดยอำเภอทั่วไป เพื่อรับรองการขยายตัวของเศรษฐกิจทุกประเภท
   -ทางรถไฟ เส้นทางรถไฟสายตะวันออกนั้นสิ้นสุดที่จังหวัดสระแก้ว ในปัจจุบันการสร้างทางรถไฟต้องคำนึงถึงผลเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
      2. การคมนาคมขนส่งทางน้ำ ส่วนใหญ่แล้วการคมนาคมในเขตแม่น้ำไม่แพร่หลายเพราะเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ แต่ส่วนใหญ่เป็นการคมนาคมทางทะเล และเป็นภาคที่มีท่าเรือที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาคอาคเนย์ คือ
ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ท่าเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรีและท่าเรือมาบตาพุด จังหวัดระยอง โดยเฉพาะท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง ที่เป็นท่าเรือเชิงพาณิชย์ที่รัฐบาลสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาการขนส่ง เพื่อส่งสินค้าออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ
      3. การคมนาคมขนส่งทางอากาศ ภาคนี้เป็นภาคที่อยู่ใกล้กรุงเทพฯ ดังนั้น การบินพาณิชย์จึงไม่จำเป็นนัก แต่จะมีการบินของกองทัพเรือในเขตนี้
      4. การสื่อสารโทรคมนาคม ในเขตอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีสถานีรับสัญญาณดาวเทียม ที่ทำให้ประเทศไทยมีความก้าวหน้าด้านการสื่อสารในปัจจุบันมาก
ปัญหาที่สำคัญ
      1. ปัญหามลพิษ ภาคตะวันออกมีปัญหาด้านมลพิษสิ่งแวดล้อม คือ
   1.1 มลพิษทั่วไป ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง อากาศ ดิน เนื่องจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเมือง ทำให้เกิดปัญหาสังคมหลายอย่างเช่น ที่อยู่อาศัย น้ำเสีย อากาศเป็นพิษ การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมและดินเสื่อมคุณภาพ
   1.2 มลพิษทางทะเล เช่น น้ำเสีย สัตว์ทะเลถูกทำลาย แนวปะการัง และหาดทรายสกปรก ทั้งนี้เพราะการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมซึ่งสร้างปัญหากับสิ่งแวดล้อมและประชาชน เช่น โรงงานกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม บริษัทขุดเจาะน้ำมัน หรือสถานประกอบการต่าง ๆ ที่ปล่อยน้ำมันตลอดจนทิ้งกากอุตสาหกรรมลงทะเล ก่อให้เกิดสารปรอทปนเปื้อนในทะเล
      2. ปัญหาป่าไม้ถูกทำลาย พื้นที่ของภาคนี้เคยมีป่าอุดมสมบูรณ์ทั้งป่าบก และป่าชายเลน ปัจจุบันพื้นที่ป่าถูกนำมาใช้เพื่อกิจการอื่น ทำให้พื้นที่ป่าไม้ในภาคนี้ลดลง หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของพื้นที่ทั้งหมด
      3. ปัญหาการอพยพของประชากร มีการอพยพเข้ามามากขึ้น ทั้งภายในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านทำให้เกิดปัญหาสังคม คือ ที่อยู่อาศัย การบริการด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการไม่เพียงพอ เกิดปัญหาชุมชนแออัด การขาดน้ำบริโภคในช่วงฤดูแล้ง
      4. ปัญหาชายแดน เนื่องจากเป็นภาคที่มีอาณาเขตติดกับประเทศกัมพูชา ซึ่งมีปัญหาด้านการเมืองภายในประเทศ ทำให้มีการลักลอบเข้าเมืองของประชาชนของประเทศเพื่อนบ้านมีปัญหาอื่นตามมา เช่น การค้าขายอย่างผิดกฎหมาย สินค้าหนีภาษีและความไม่มั่นคงของประเทศ
      5. ปัญหาการประมงและน่านน้ำ ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะขยายเป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้เกิดการทับซ้อนของเขตเศรษฐกิจจำเพาะกับประเทศเพื่อนบ้านเป็นอุปสรรคต่อการประมงของไทย

แนวทางการแก้ไขปัญหา
      การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังกล่าวได้ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมโดยออกกฎหมายควบคุมแหล่งบริการ และโรงงานอุตสาหกรรมในการปล่อยน้ำเสีย คือ คือต้องมีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยลงทิ้งในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล ส่งเสริมในสถานบริการด้านการท่องเที่ยวจัดบริการให้ถูกวิถีเพื่อมิให้เป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนการอุตสาหกรรมมีการกำหนดแนวทางการการพัฒนาเป็นเขตเป้าหมาย เพื่อสะดวกและเป็นสัดส่วน คือ
      1. บริเวณแหลมฉบัง จะเป็นเขตท่าเรือน้ำลึก ซึ่งจัดให้เป็นเขตท่าเรือพาณิชย์ ซึ่งถือว่าเป็นเขตท่าเรือที่ทันสมัยที่สุดของประเทศ และเขตนิคมอุตสาหกรรมเพื่อเน้นอุตสาหกรรมเบาเพื่อการส่งออก
      2. บริเวณมาบตาพุด ก็จะมีเขตท่าเรือมาบตาพุด และเขตนิคมอุตสาหกรรมเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น
      3. การอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ตามโครงการพระราชดำริ ได้แก่
* โครงการสวนป่าสิริเจริญอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี
* โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่รอยต่อ 5 จังหวัด ( ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และจันทบุรี )








ภาคตะวันตก
ลักษณะทางกายภาพ
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/71.jpg

      ที่ตั้งและขนาด ภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขา และภูเขาสลับซับซ้อน แม่น้ำที่เกิดขึ้นมีลักษณะไหลเชี่ยว เป็นภาคที่มีสภาพความเป็นธรรมชาติสูงซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่อยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ถึง 17 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศาตะวันออกถึง 100 องศาตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
   1.ทิศเหนือ จรดภาคเหนือ
   2.ทิศใต้ จรดภาคใต้
   3.ทิศตะวันออก จรดภาคกลาง
  4.ทิศตะวันตก จรดสาธารณรัฐสังคมนิยมแห้งสหภาพพม่า ( เมียนมาร์ )
      ภาคตะวันตกประกอบด้วย 5 จังหวัดคือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันตกมีขนาดพื้นที่ 53,679 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีส่วนที่ถือว่าแคบที่สุดของประเทศ คือ บริเวณตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร จังหวัดกาญจนบุรีมีพื้นที่มากที่สุด ส่วนจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่น้อยที่สุด



ลักษณะภูมิประเทศ
      ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายกับภาคเหนือ เพราะเกิดจากการบีบตัวของเปลือกโลกทำให้มีลักษณะเป็นภูเขา หุบเขามีร่องน้ำไหลผ่านแต่หุบเขาในภาคนี้จะแคบและชันกว่าภาคเหนือเขตที่ราบจะอยู่ด้านตะวันออกของภาค ลักษณะภูมิประเทศของภาคตะวันตกมีดังนี้
      1. เทือกเขาในภาคตะวันตก
   -เทือกเขาถนนธงชัย แนวกลางต่อเนื่องจากภาคเหนือเข้าสู่จังหวัดตาก ถึงบริเวณด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเทือกเขานี้เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธารที่เป็นอาณาเขตของแควน้อยและแควใหญ่ที่เป็นแม่น้ำสำคัญ และภาคนี้ช่องเขาที่เป็นเส้นคมนาคมระหว่างไทยกับพม่าอยู่หลายแห่ง เช่น ด่านแม่เมา จังหวัดตาก ด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น
   -เทือกเขาตะนาวศรี เป็นเทือกเขาที่มีความยาวมากคือ ยาวประมาณ 835 กิโลเมตรเป็นภูเขาที่ปกคลุมไปด้วยป่าดงดิบหนาทึบ มีฝนตกชุก และมีความเป็นธรรมชาติมาก
      2. แม่น้ำในภาคตะวันตก แม่น้ำในภาคตะวันตกเป็นแม่น้ำสายสั้น ๆ ที่ไหลเชี่ยว ได้แก่ แม่น้ำแควน้อย, แม่น้ำแควใหญ่หรือแม่น้ำศรีสวัสดิ์, แม่น้ำเพชรบุรี
      3. ลักษณะชายฝั่งในภาคภูมิอากาศ เป็นแบบเดียวกับภาคกลาง คือ ทุ่งหญ้าเมืองร้อน ( Aw) ปริมาณฝนตกตลอดทั้งปีน้อยกว่าภาคอื่นๆ
ลักษณะภูมิอากาศ
      ฤดูกาลในภาคตะวันตก แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
   -ฤดูฝน จะเริ่มประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรงและพัดเข้าสู่ประเทศไทย ฝนจะตกชุกในช่างต้นฤดู และลดลงในช่วงกลางๆ ฤดู พอถึงช่างเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม ฝนจะกลับมาตกชุกอีกครั้ง เพราะมีดีเปรสชันพัดผ่าน
   -ฤดูหนาว เริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคม เป็นเวลา 3เดือน โดยทางตอนเหนือของภาคอากาศจะหนาวเย็น ทั้งนี้เพราะเป็นเขตที่สูง และภูเขา ส่วนตอนล่างของภาคอากาศไม่หนาว
   -ฤดูร้อน เริ่มประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม มีระยะเวลาประมาณ 3 ถึง เดือน เพราะเป็นเขต อับฝน ส่วนล่างติดทะเล อากาศจึงไม่ร้อนจัด
ทรัพยากรธรรมชาติ
      1. ทรัพยากรดิน ลักษณะภูมิประเทศของภาคนี้คล้ายคลึงทั้งภาคเหนือและภาคกลางจึงมีลักษณะดินแตกต่างกัน คือ
   -ดินบริเวณที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำ ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำกลอง มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับปลูกข้าวและผลไม้
   -ดินบริเวณชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นดินทรายขาดความอุดมสมบูรณ์ พืชที่ปลูกได้ดีคือ มะพร้าว
  -ดินบริเวณที่ราบเชิงเขา มีลักษณะเป็นดินร่วนปนทราย ข้างล่างเป็นดินเหนียว อุดมสมบูรณ์
      2. ทรัพยากรน้ำ ภาคนี้มีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่า-ภาคอื่น ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศเหมาะสมกับการสร้างเขื่อน จึงทำให้สร้างเขื่อนกักเก็บน้ำไว้ได้มาก โดยเฉพาะจังหวัดกาญจนบุรีที่ถูกเรียกว่า เมืองเขื่อน
      3. ทรัพยากรแร่ธาตุ อุดมสมบูรณ์พอควร แร่ธาตุที่สำคัญ คือแร่โลหะ, ดีบุก, วุลแฟรม, เหล็ก, แร่อโลหะ, ฟลูออไรต์, แร่รัตนชาติ, ทองคำ, แร่เชื้อเพลิง, แร่หินน้ำมัน
      4. ทรัพยากรป่าไม้ ลักษณะของป่าไม้ในภาคตะวันตก ได้แก่
   -ป่าดงดิบ พบมากในเขตตะวันตกของภาค บริเวณภูเขา
   -ป่าเบ็ญจพรรณ พบในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี
   -ป่าไผ่ พบมากในพื้นที่ทั่วไปของภาค แต้ปัจจุบันเหลือน้อย เนื่องจากนำไปใช้ประโยชน์ และเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษ
ลักษณะทางวัฒนธรรม
      1. เชื้อชาติ ประชากรของภาคตะวันตกส่วนใหญ่มีเชื้อสายชาวไทยภาคกลาง ประชากรที่ชนกลุ่มน้อยของภาคนี้ ได้แก่ กะเหรี่ยง แม้ว เย้า โยอาศัยอยู่ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี เพชรบุรี ตาก เพราะมีอาณาเขตบางส่วนติดต่อกับพม่า กลุ่มนี้มักจะมีปัญหาด้านการขนส่งสินค้าเถื่อน ยาเสพติด และการสู้รบกันเองซึ่งทำให้ประเทศเดือดร้อน อีกกลุ่มเป็นชนกลุ่มน้อยที่อยู่บนที่ราบ ค ไทยพวน ลาวโซ่ง กลุ่มนี้อยู่รวมกับชาวไทยจนมีลักษณะการดำเนินชีวิตเป็นแบบชาวไทยบริเวณที่อาศัยจะอยู่ในจังหวัดราชบุรีและเพชรบุรี นอกจากนี้ยังมีชาวไทยเชื้อสายจีน อาศัยอยู่โดยเฉพาะในย่านการค้า อำเภอบ้านโป่ง และอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
      2. ศาสนา ประชากรรในภาคตะวันตกส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังมีศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และอื่นๆ
      3. ภาษา ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทยภาคกลางสำเนียงท้องถิ่น แต่ชนกลุ่มน้อยจะใช้ภาษาพูดของตนเอง และใช้ภาษาไทยเป็นภาษากลางในการติดต่อสื่อสาร
      4. การกระจายและความหนาแน่นของประชากร สภาพภูมิประเทศของภาคตะวันตกเป็นภูเขา การคมนาคมไม่สะดวก ทำให้เป็นภาคที่มีประชากรอาศัยอยู่น้อยที่สุด คือ มีประชากร 3058217 คน ( พ.ศ. 2544 ) จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดคือ จังหวัดราชบุรี เพร้เป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง เป็นจังหวัดที่อยู่ทางตะวันออกของเทือกเขา จึงเป็นเขตที่ราบกว้างขวางกว่าทุกจังหวัด จังหวัดที่มีประชากรน้อยที่สุด คือจังหวัดเพชรบุรี ส่วนจังหวัดตากมีประชากรอยู่หนาแน่นน้อยที่สุด เพราะสภาพภูมิประเทศทุรกันดารแห้งแล้ง เป็นป่าเขา และเป็นจังหวัดชายแดน
เศรษฐกิจ
      สภาพภูมิประเทศของภาคตะวันตกคล้ายกับภาคเหนือ คือ เป็นป่าเขาที่ราบหุบเขาเป็นลั่มแม่น้ำแคบกว่าภาคเหนือและชายฝั่งทะเลอยู่ทางด้านตะวันตออก แต่พื้นที่ทำกินและตั้งบ้านเรือนไม่กว้างและหนาแน่นมากนัก ลักษณะกิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคนี้มีดังนี้
      1. ด้านการผลิต
   1.1 การเพาะปลูก พืชที่สำคัญของภาค คือ อ้อย
   1.2 การเลี้ยงสัตว์ สัตว์ที่เลี้ยงกันมาก คือไก่ สุกร โค
   1.3 การประมง ทำการประมงได้ในเขตจังหวัดติด ทะเล เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี
   1.4 การทำเมืองแร่ ภาคนี้มีการทำแหล่งแร่หลายชนิด และเป็นเหมืองขาดใหญ่ เช่น ฟลูออไรต์ ที่จังหวัดตาก และมีการทำเหมืองแร่รัตนชาติ โดยเฉพาะที่จังหวัดกาญจนบุรี
   1.5 การอุตสาหกรรม
* อุตสาหกรรมพื้นเมือง ผลิตผลที่สำคัญ คือ ไม้ไผ่ จึงมีการอุตสาหกรรมพื้นบ้านด้านจักสาน
* อุตสาหกรรมสมันใหม่ เช่น โรงงานทำสับปะรดกระป๋อง
* อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เช่น น้ำตก ป่าไม้ ภูเขา แม่น้ำ
      2. ด้านการบริโภค ภาคตะวันตกมีอาณาเขตติดต่อกับภาคกลางที่มีความเจริญ และจังหวัดสำคัญของภาคตะวันตกก็เป็นทางผ่านไปยังภาคใต้ ทำให้ภาคนี้มีสินค้าและบริการเหมือนกับภาคกลาง
      3. ด้านการกระจาย การกระจายสินค้าและบริการก็เหมือนกับทุกๆภาคในด้านลักษณะของสินค้าและบริการ แต่จะมีปัญหา
      4. ด้านการเปลี่ยนด้านความไม่ทั่วถึง เพราะอุปสรรคในการคมนาคม ภาคตะวันตกก็เป็นภาคที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทำให้สินค้าและบริการส่วนใหญ่จะแลกเปลี่ยนกันด้วยสื่อกลางด้านเงินตรา เพื่อความสะดวกในการติดต่อกันและกัน
การคมนาคมขนส่ง
      สมัยก่อนภาคตะวันตกยังไม่ได้รับการพัฒนา เพราะขาดเส้นทางการคมนาคมขนส่ง แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา การพัฒนาได้เป็นไปอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพราะเป็นภาคที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยว ทั้งทางธรรมชาติ และแหล่งวัฒนธรรมเก่าแก่ การคมนาคมที่สำคัญ ได้แก่
      1. การคมนาคมขนส่งทางบก
   -ทางรถยนต์ เส้นทางคมนาคมที่สำคัญที่สุด คือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 คือ ถนนเพชรเกษม ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีนโยบายการพัฒนาโดยขยายถนนเพชรเกษมให้ได้ระดับมาตรฐานพร้อมรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ การค้า และการท่องเที่ยวที่ขยายตัว
   -ทางรถไฟ การคมนาคมด้วยทางรถไฟที่มีมานาน โดยมีเส้นทางในเขตการท่องเที่ยวเช่น กรุงเทพฯ กาญจนบุรีและเส้นทางรถไฟสายใต้ที่ผ่านภาคตะวันตก
      2. การคมนาคมขนส่งทางน้ำ ไม่สะดวกเนื่องจากลักษณะแม่น้ำส่วนใหญ่สายสั้นๆ คดเคี้ยวและไหลเชี่ยว แม่น้ำที่ใช้เป็นส้นทางเศรษฐกิจของภาค ได้แก่ แม่น้ำกลอง
      3. การคมนาคมขนส่งทางอากาศ มีสนามบินภายในประเทศในจังหวัดตาก เพราะไม่สดวกในการคมนาคมทาง รถยนต์
      4. การสื่อสารโทรคมนาคม ปัจจุบันได้รับการพัฒนาทำให้ภาคตะวันตกมีระบบของการสื่อสารทุกประเภท และมีความทันสมัยเทียบเท่ากับภูมิภาคอื่น
ปัญหาสำคัญของภาคตะวันตก
      1. ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้ โดยเฉพาะที่จังหวัดกาญจนบุรี ทำให้ทรัพยากรประเภทอื่นถูกทำลายด้วย ยังผลให้สภาพความเป็นธรรมชาติสุญเสียไป
      2. ปัญหาการคมนาคม ภาคนี้ปัญหาสภาพภูมิประเทศไม่อำนวยต่อการพัฒนาการคมนาคม จึงทำให้การติดต่อและการพพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านอื่นๆ ไม่สะดวกไปด้วย
      3. ปัญหามลพิษ มลพิษในภาคนี้เกิดขึ้นแม่น้ำแม่กลองเน่าเสียเพราะโรงงานอุสาหกรรมและที่อยู่อาศัยของประชากร นอกจากนี้จากอุตสาหกรรมที่มีพิษเกือบล้านตันที่ถูกนำมาฝังไว้ในเขตจังหวัดกาญจนบุรี และราชบุรี ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นถ้าไม่มีการป้องกันที่ดี
      4. ปัญหาชายแดน การลักลอบเข้าเมืองและการหนีภาษี เพราะเป็นเขตติดต่อกับประเทศพม่า และเป็นพื้นที่ทุรกันดาร การคมนาคมไม่สะดวกอยากต่อการปราบปรามและป้องกัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาการลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของแรงงานพม่าอีกด้วย
      5. ปัญหาส่งเสริมการท่องเที่ยว ภาคนี้ยังมีแหล่งท่องเที่ยวอีกมากมายที่ยังไม่ได้พัฒนาทั้งนี้เพราะปัญหาการคมนาคม
แนวทางการแก้ไขปัญหา
1. เปิดศูนย์สินค้าผ่านชายแดนไทย-พม่าที่จังหวัดกาญจนบุรี
2. ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีรูปแบบที่ทันสมัยและปรับปรุงการคมนาคมให้ดีขึ้น
3. เปิดการเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการขนส่งระหว่างภาคตะวันตกและภาคตะวันออก
4. จัดทำแผนการใช้ที่ดินและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ
5. ขยายอุตสาหกรรมทุกรูปแบบ ทั้งแปรรูปการเกษตร การท่องเที่ยว
6. พัฒนาพื้นที่ตามโครงการพระราชดำริ ได้แก่ โครงบกการพัฒนาที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินคีรีราษฎร์ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โครงการศูนย์ศึกษาพันธุ์ไม้ป่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดราชบุรี เป็นต้น





ภาคเหนือ
ลักษณะทางกายภาพ
      ที่ตั้งและขนาด ภาคเหนือเป็นดินแดนแห่งภูเขาและหุบเขา อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ทิวทัศน์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญ รวมทั้งวัฒนธรรมที่เก่าแก่ของประเทศ พื้นที่ของภาคนี้ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 18 องศาเหนือ ถึง 20 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูดที่ 97 องศาตะวันออก ถึง 101 องศาตะวันออก โดยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านดังนี้
      1.ทิศเหนือ จรดประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (เมียนมาร์) และสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
      2.ทิศใต้ จรดภาคกลาง
      3.ทิศตะวันออก จรดประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว
      4.ทิศตะวันตก จรดประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า (เมียนมาร์)
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/31.jpg      พื้นที่ของภาคเหนือประกอบด้วย 9 จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง แพร่ น่าน และอุตรดิตถ์ โดยมีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ มีเนื้อที่ 93,388.73 ตารางกิโลเมตร




ลักษณะภูมิประเทศ
ภาคเหนือมีพื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยภูเขาสูงและหุบเขากว้างใหญ่ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยน แปลงทางธรณีวิทยาทีมีการดันตัวของเปลือกโลก ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นโก่งตัวกลายเป็นภูเขาและเทือกเขาสูง ส่วนที่ทรุดต่ำก็กลายเป็นทุบเขา ถ้าทรุดต่ำมากก็จะมีน้ำขังเป็นทะเลสาบ เช่น กว๊านพะเยา ซึ่ง มีรายละเอียดของลักษณะภูมิประเทศชนิดต่าง ๆ ดังนี้

      1. เทือกเขาในภาคเหนือ ได้แก่ เทือกเขาแดนลาว ถนนธงชัย ผีปันน้ำและหลวงพระบาง
เทือกเขาแดนลาว เป็นเทือกเขาขนาดใหญ่ กั้นแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศพม่า
เทือกเขาถนนธงชัย เป็นเทือกเขาวางตัวในแนวเหนือใต้ มีความยามทั้งสิ้น 1,410 กิโลเมตร ประกอบด้วยแนวเขาเรียงขนานกัน คือ เทือกเขาถนนธงชัยตะวันตก ตอนกลาง และตะวันออก
เทือกเขาผีปันน้ำ เป็นเทือกเขาที่แบ่งปันน้ำออกเป็น 2 ส่วน จึงได้ชื่อว่า ผีปันน้ำ น้ำส่วนหนึ่งไหลมารวมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา อีกส่วนหนึ่งไหลไปลงแม่น้ำโขง
เทือกเขาหลวงพระบาง เป็นเทือกเขากั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับสาธารณ รัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นแหลงของต้นกำเนิดลำธารหลายสายที่ไหลมาสู่แม่น้ำกก และแม่น้ำอิงและบางส่วนไหลสู่แม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน
      2. ที่ราบ เขตที่ราบสำคัญของภาคเหนือ ส่วนใหญ่จะเป็นบริเวณที่ราบระหว่างภูเขาที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เป็นเขตที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น ได้แก่ ที่ราบลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ
      3. แม่น้ำ ในภาคเหนือแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
3.1) กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ได้แก่ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
3.2) กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ได้แก่ แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำสาย และแม่น้ำรวก
3.3) กลุ่มแม่น้ำที่ไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ได้แก่ แม่น้ำยวม แม่น้ำเมย และแม่น้ำปาย
ลักษณะภูมิอากาศ
      ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่ของภาคเหนือ คือร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savana) หรือ AW ซึ่งมีฝนตกชุกในฤดูฝน อากาศแห้งแล้งในฤดูกาลหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
      ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนตุลาคม ในระยะ 4-5 เดือน เป็นฝนที่ได้รับอิทธิพล
จากลมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดีย และอีกส่วนหนึ่งเกิดจากอิทธิพลของดีเปรสชั่นขึ้นจากทะเลจีนใต้ เขตที่ในตกมากที่สุดจะอยู่ตอนบนของภาค
      ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ เพราะเป็นภาคที่ได้รับอิทธิพลจากลมฝ่ายเหนือ
หรือตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดจากบริเวณความกดอากาศสูงในประเทศจีนลงมา
     ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม รวมระยะเวลาประมาณ 3 เดือนอากาศ
จะร้อนมากในเดือนเมษายน
ทรัพยากรธรรมชาติ
      1. ทรัพยากรดิน ที่พบในภาคเหนือมี 4 กลุ่ม
-ดินบริเวณที่ราบริมฝั่งแม่น้ำที่น้ำท่วมถึง เกิดจากการทับถมของดินตะกอนพบบริเวณริมฝั่งแม่น้ำ
-ดินบริเวณที่ราบลุ่มและที่ราบต่ำ ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนที่ทับถมกันนานจึงแบ่งชั้นดินชัดเจน
-ดินบริเวณที่ราบลูกฟูกและภูเขาเตี้ย ๆ เกิดจากตะกอนของน้ำพัดพามาหรือจากหินของต้นกำเนิด
-ดินบริเวณลาดเขาหรือที่สูง เป็นดินที่อยู่บริเวณทั่วไปของภาค ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีความลาดชันมาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำปลูกพืชไร่ได้ แต่ในฤดูแล้งเพาะปลูกได้ไม่ดี
     
2. ทรัพยากรน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับภาคอื่น ๆ ภาคเหนือถือว่ามีทรัพยากรน้ำที่อุดมสมบูรณ์ในระดับปานกลาง แบ่งออกได้ดังนี้
- น้ำบนผิวดิน มีแหล่งสำคัญได้แก่ แม่น้ำสำคัญสายต่าง ๆ โดยเฉพาะแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน แม่น้ำกก แม่น้ำอิง
- น้ำใต้ดิน ภาคเหนือเป็นภาคที่น้ำใต้ดินอุดมสมบูรณ์ในบริเวณแอ่งที่ราบ ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ตลอดปี
     
3.ทรัพยากรแร่ธาตุ ภาคเหนือถือได้ว่าเป็นภาคที่มีทัพยากรแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์พอควร ทั้งนี้เพราะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นเขตหินอัคนี
     
4. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคเหนือเป็นภาคที่มีทรัพยากรป่าไม้อุดมสมบูรณ์กว่าภาคอื่น ๆ
ลักษณะทางวัฒนธรรม
      1.เชื้อชาติ ภาคเหนือในอดีตเป็นดินแดนที่เจริญรุ่งเรืองทั้งทางอารยธรรมและความอุดมสมบูรณ์จนถูกเรียกว่าอาณาจักรล้านนา
      2.ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ของภาคเหนือนับถือพระพุทธสาสนาประชาชนจะเคร่งครัดในการปฏิบัติคำสอนตามหลักธรรม
      3. ภาษา ประชากรในภาคเหนือ จะใช้ภาษาถิ่นเหมือนกันกับประชากรในภาคอื่น ๆ ของประเทศ เช่น ทางจังหวัดแม่ฮ่องสอน
     4. การกระจายและความหนาแน่นของประชากร ภาคเหนือมีเนื้อที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่จำนวนประชากรมีน้อยกว่า
เศรษฐกิจ
การที่ภาคเหนือมีภูมิประเทศเป็นภูเขาและที่ราบแคบๆระหว่างภูเขา  มีทรัพยากรธรรมชาติทีดี ทำให้ภาคเหนือมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่าง ซึ่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญ
      ด้านการผลิต การผลิตที่สำคัญของภาคเหนือ เกี่ยวข้องกับลักษณะการประกอบอาชีพส่วนใหญ่ ดังนี้
1.1 ด้านการเกษตร
1.2 การทำป่าไม้
1.3 การทำเหมืองแร่
1.4 การอุตสาหกรรม
      ด้านการบริโภค ลักษณะการบริโภคของประชาชนในภาคเหนือจะเป็นสินค้าพื้นฐานในการดำรงชีวิต เพราะรายได้ของประชากรในภาคมีระดับต่ำ โดยเฉพาะประชากรที่อยู่ในท้องถิ่นชนบท สำหรับผู้ที่อยู่ในเมือง โดยเฉพาะเมืองใหญ่ ๆ มีลักษณะการเลียนแบบการบริโภคตามค่านิยมของสังคมและบุคคล
      ด้านการกระจาย สินค้าและบริการที่ผลิตได้ในภาคเหนือส่วนใหญ่เป็นสินค้ามีชื่อและเป็นสินค้าที่ต้องการของตลาดไม่ว่าจะเป็นผักผลไม้ดอกไม้ผลผลิตด้านอุตสาหกรรมพื้นเมืองรวมทั้งแร่ธาตุทีเป็นผลผลิตที่ใช้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเช่นถ่านหินน้ำมันมีการกระจายไปยังทุกภาคของประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศโดยการส่งออกไปสู่ต่างประเทศ
      ด้านการแลกเปลี่ยน ลักษณะการแลกเปลี่ยนเหมือนกับภาคอื่นที่ใช้เงินตราเป็นสื่อกลางระบบที่ใช้ของแลกของจะยังคงมีอยู่ในชนบทห่างไกลปัจจุบันประชาชนมีความรู้เกี่ยวกับการจัดการธุรกิจมากขึ้น ลักษณะการแลกเปลี่ยนจึงใช้องค์กรเข้ามาช่วยเหลือ โดยจะเน้นการรวมกลุ่มกันในลักษณะสหกรณ์ เพื่อตัดปัญหาพ่อค้าคนกลาง
การคมนาคมขนส่ง
      1. การคมนาคมทางบก
      -ทางรถยนต์ เส้นทางรถยนต์สายหลักของภาคเหนือ คือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (ถนนพหลโยธิน) โดยเริ่มจากกรุงเทพ ฯ สิ้นสุดที่จังหวัดเชียงราย มีความยาวถึง 1,005 กิโลเมตร และเส้นทางเชื่อมต่อในแต่ละจังหวัด อำเภอ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ในสภาพดี และมีความสะดวกในการคมนาคมขนส่งภายในภาค
      -ทางรถไฟ มีทางรถไฟสายเหนือ จากกรุงเพท ฯ เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 851 กิโลเมตร ซึ่งในปัจจุบันการเดินทางโดยรถไฟสะดวกสบายมากขึ้น เพราะมีการปรับปรุงการบริการให้ทันสมัย สะดวก และรวดเร็ว
      2. การคมนาคมทางน้ำ การใช้แม่น้ำเพื่อการสัญจรในปัจจุบันลดความสำคัญลงเพราะมีเส้นทางอื่นที่สะดวกรวดเร็วกว่า ประกอบกับแม่น้ำสำคัญ ๆ ของภาคเหนือที่ใช้เป็นเส้นทางการเดินเรือ มักจะมีปัญหาน้ำบางช่วงในฤดูแล้ง และน้ำเชี่ยวเกินไปในฤดูฝน แต่แม่น้ำก็ยังใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าได้บ้าง ได้แก่ แม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน ซึ่งเป็นสายหลักของภาค
      3. การคมนาคมทางอากาศ ภาคเหนือมีสนามบินภายในประเทศอยู่แล้วหลายจังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ ซึ่งถือว่าเป็นภาคที่มีการคมนาคมค้านี้สะดวก โดยเฉพาะเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบินของภาคเหนือ
      4. การสื่อสารโทรคมนาคม มีการบริการด้านการสื่อสารทุกประเภทครบถ้วนโดยเฉพาะในจังหวัดศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ มีการพัฒนาในด้านการติดต่อสื่อสารสูง อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ
ปัญหาสำคัญของภาคเหนือ
      ปัญหาการทำลายป่าไม้ ถึงแม้ว่าจะยังมีพื้นที่ป่าไม้เขตภาคเหนือแต่ก็ถูกทำลายอย่างรวดเร็วและเหลือน้อยลงซึ่งก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากร และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ ตามมา เช่น การขาดแคลนน้ำในภาคกลางเพราะต้ออาศัยแหล่งต้นน้ำจากภาคนี้ การสูญเสียพันธ์ของสัตว์ป่า
      ปัญหามลพิษ แหล่งน้ำทางภาคเหนือถือว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเภทคุณภาพน้ำมากที่สุด โดยเฉพาะที่แม่น้ำปิง และแม่น้ำวังกำลังประสบปัญหามลพิษจากน้ำเข้าขั้นวิกฤตโดยเฉพาะช่างที่ไหลมาผ่านในในเขตเมืองสาเหตุมาจากน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งชุมชน
      ปัญหาความยากจนและขาดที่ทำกิน เป็นปัญหาที่มีอยู่ทุกภาคของประเทศ ทั้งนี้เพราะการเพิ่มขึ้นของประชากร และภาคเหนือเองก็มีพื้นที่ที่ใช้ในการเพราะปลูกน้อยอยู่แล้ว เมื่อมีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจการใช้ที่ดินจึงเป็นไปในกิจการอื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือแม้การสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้ประชาชนไร้ที่อยู่ทำกิน ยังผลนี้ยังเกิดปัญหาการล่อลวงผู้หญิงสาวและเด็กมาทำงานขายบริการ จนกลายเป็นปัญหาระดับชาติที่ยากจะแก้ไข
      ปัญหาด้านคุณภาพประชากร ทั้งการศึกษาและสุขภาพอนามัย ซึ่งเกิดจากความยากจน ทำให้ไม่มีรายได้ที่จะสร่างคุณภาพให้เกิดขึ้นกับตนเองได
      ปัญหาการว่างงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกภาคของไทย นอกจากนี้ ปัญหาการลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมายของประเทศเพื่อนบ้านก็เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และความมั่นคงของชาติด้วย
แนวทางการแก้ไขปัญหา
การแก้ไขปัญหาของภาคเหนือที่ได้ปฏิบัติและได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มีดังนี้
1. การส่งเสริมให้มีการปลูกป่า
เช่น โครงการอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่สงวนแห่งชาติ อำเภอก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โครงกาอนุรักษ์สภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โครงการพัฒนาการป่าไม้อันเนื่องมาจากการพระราชดำริสวนป่าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น
2. จัดหาที่ทำกินให้ประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ทั้งนี้เป็นการแก้วไขปัญหาการทำลายป่าไม้และต้นน้ำลำธาร รวมทั้งสภาพแวดล้อมอื่น ๆ อันจะเป็นการงานต่อการจัดระบบการปกครองโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อย ต่าง ๆ
3. ส่งเสริมการมีรายได้และพัฒนาให้แก่ประชาชน โดยการให้การศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียนเพื่อให้มีความรู้ไปประกอบอาชีพ อันจะมีรายได้มาพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นโดยเฉพาะการปลูกพืชเมืองหนาว เนื่องจากสภาพภูมิศาสตร์ของภาคเหนือเอื้ออำกนวยเป็นอย่างดี
4. ส่งเสริมการศึกษา การจะพัฒนาคุณภาพของประชาชนจะต้องส่งเสริมด้านการศึกษาให้ทั่วถึง โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในท้องถิ่นห่างไกลและชนกลุ่มน้อย เพื่อให้ได้รู้ภาษาไทย เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาของทางการ ทั้งยังลดการอพยพและการถูกล่อลวง ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญของประเทศด้วย
5. ผลักดันแรงงานต่างชาติและสร้างความมั่นคง เพราะภาคเหนือเป็นภาคที่มีปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน และการลักลอบค้ายาเสพติด ซึ่งล้วนเป็นปัญหาสำคัญต่อเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคงของชาติ รัฐบาลและประชาชนจะต้องร่วมมือกันผลักดันแรงงานที่ผิดกฎหมาย และป้องกันแพรขยายของยาเสพติด









ภาคตะวันออกเฉี่ยงเหนือ
ลักษณะทางกายภาพ
      ที่ตั้งและขนาด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม ภาคอีสานเป็นภาคที่มีเนื้อที่มาก ที่สุดของประเทศเป็นดินแดงแห่งที่ราบสูงที่มีภูมิประเทศแยกออกอย่างชัดเจนกับภาคกลางและเป็นดินแดนที่มีแหล่ง วัฒนธรรมที่เก่าแก่เป็นเอกลักษณ์ของภาค มีประชากรมากที่สุด ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 14 องศาเหนือ ถึง 18 องศา และลองจิจูด 101 องศาตะวันออกถึง 105 องศาตะวันออก มีอาณาเขตติดต่อกับดินแดนต่างๆ ดังนี้
1.ทิศเหนือและทิศตะวันออก จรดประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
2.ทิศใต้ จรดภาคตะวันออกและประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
3.ทิศตะวันตก จรดภาคกลาง
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/41.jpg

      พื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 19 จังหวัด โดยแบ่งออกเป็น อีสานตอนบน 10 จังหวัดคือ จังหวัดกาฬสิน ขอนแก่น นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม เลย สกลนคร อุดรธานี หนองบัวลำภู และหนองคาย ส่วนอีสานตอนล่าง มี 9 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ชัยภูมิ และนครราชสีมา มีพื้นที่ทั้งหมด 168,855.5 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะถูมิประเทศ
      1. เทือกเขา เทือกเขาสำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง เทือกเขาพนมดงรัง และเทือกเขาภูพาน
      2. ที่ราบ ที่ราบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่
     แอ่งที่ราบโคราช เป็นเขตที่ราบกว้างใหญ่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำและแม่น้ำชีมีลักษณะเป็นแอ่งกระทะกว้าง บางส่วนเป็นที่ราบลูกฟูกสลับกับเนินเขากระจายอยู่ทั่วไปและมี ทะเลสาบรูปแอก ( OX – bow lake ) หรือกุด    ( Cut off ) ซึ่งเกิดจากการโค้งตวัดและการลักทางเดินของแม่น้ำแอ่งที่ราบสกลนคร เป็นแอ่งที่ราบขนาดเล็กอยู่ทางตอนบนของภาค มีแอ่งน้ำสำคัญ คือ หนองหาร แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านคือ แม่น้ำสงคราม ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ซึงเขตที่ราบนี้ได้อาศัยน้ำจากแม่น้ำโขงมาใช้ในการเกษตรด้วย.
      3. แม่น้ำ แม่น้ำที่สำคัญในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี และแม่น้ำสงคราม
ลักษณะภูมิอากาศ
      ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้งหรือทุ่งหญ้าเมืองร้อน ในช่วงฤดูร้อนภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดมาจากมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตก ซึ่งฝนที่ตกจะมีปริมาณไม่มากนัก เพราะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นเขตเงาฝน คือ อยู่บริเวณด้านหลังของภูเขามีฝนตกน้อย ฝนที่มีปริมาณมากของภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมากับพายุดีเปรสชัน ถ้าปริมาณพอเหมาะจะทำให้ปริมาณน้ำเพียงพอ แต่ถ้าหากมากน้อยเกินไปจะเกิดปัญหาน้ำท่วมหรือแล้งได้
ฤดูกาลของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แบ่งออกเป็น 3 ฤดู คือ
      ฤดูฝน เริ่มประมาณปลายเดือนพฤษภาคมหรือต้นเดือนมิถุนายน สิ้นสุดเดือนตุลาคมส่วนใหญ่เป็นฝนที่มากับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และจากพายุดีเปรสชัน ภาคนี้มักเกิดปัญหาฝนทิ้งช่วง ทำให้การเพาะปลูกได้รับความเสียหาย
      ฤดูหนาว เริ่มกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในเดือนตุลาคมเป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว จึงทำให้มวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ปกคลุมมาสู่ประเทศไทย ซึ่งจังหวัดทาง
ตอนบนของภาคจะได้รับอิทธิพลของอากาศเย็นมากกว่าทางตอนล่างของภาค โดยเฉพาะจังหวัดเลยซึ่งมีอุณหภูมิต่ำสุดของประเทศ
      ฤดูร้อน เริ่มจากเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม แต่ในเขตที่สูงมีความแห้งแล้งเพราะอยู่หางไกลทะเล

ทรัพยากรธรรมชาติ
     1. ทรัพยากรดิน ลักษณะของดินเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศ คือ บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ จะเป็นดินที่เกิดจากการทับถมของดินตะกอน ซึ่งจะมีความอุดมสมบูรณ์อยู่บ้างสามารถเพาะปลูกข้าวและพืชไร่ได้ ส่วนดินที่อุดมสมบูรณ์อีกบริเวณหนึ่งคือ ดินบริเวณที่สูงและภูเขา ซึ่งเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญ เช่น จังหวัดสกลนครและนครราชสีมา แต่สภาพดินโดยส่วนมากของภาคเป็นดินปนทรายที่มีคุณภาพต่ำ ไม่ค่อยเหมาะแก่การเพาะปลูก ไม่สามารถอุ้มน้ำ ทำให้ภาคนี้มีความแห้งแล้งมาก เช่น ดินร่วนตะกอนบริเวณทุ่งกุลาร้องให้ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด เป็นดินเค็มไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก ดินร่วนทรายละเอียดโคราชซึ่งจะอยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ชี และโขง เรียกอีกอย่างว่า ดินร่วนทราย กุมภวาปี เพาะปลูกไม่ได้ผล แต่เหมาะแก่การเลี้ยงสัตว์ และดินบริเวณที่สูงและภูเขามีลักษณะเป็นดินเหนียว และดินเหนียวปนทราย มีความอุดมสมบรูณ์ใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตรการทำนา และปลูกพืชไร่ เป็นต้น
      2. ทรัพยากรทางน้ำ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือขาดแคลนน้ำมากกว่าภาคอื่น ๆ แม้จะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคอื่นๆ แหล่งน้ำ ที่สำคัญของภาคคือ
2.1 น้ำบนผิวดิน
2.2 น้ำใต้ดิน
      3. ทรัพยากรแร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่ทรัพยากรแร่น้อยกว่าภาคอื่นๆ ที่มากที่สุด คือแร่เกลือหิน ซึ่งถือเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
      4. ทรัพยากรป่าไม้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีเนื้อที่มากที่สุด แต่มีเนื้อที่ป่าไม้น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับขนาดพื้นที่



ภาคกลาง
ลักษณะทางกายภาพ
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/51.jpg

      ที่ตั้งและขนาดภาคกลางเป็นดินแดนระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำที่มีเนื้อที่กว้างขวางที่สุดของประเทศเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญ เป็นศูนย์กลางความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นภาคที่มีความหนาแน่นของประชากรมากที่สุดภาคกลางตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศระหว่างละติจูดที่ 13 องศาเหนือ ถึง 18 องศาเหนือ และลองจิจูด 99 องศาตะวันออกถึง 101 องศาตะวันออก โดยมีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ ต่าง ๆ ดังนี้
   1.ทิศเหนือ จรดเหนือและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(ที่บริเวณจังหวัด พิษณุโลก )
   2.ทิศใต้ จรดอ่าวไทย
   3.ทิศตะวันออก จรดภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   4.ทิศตะวันตก จรดภาคตะวันตก
      พื้นที่ของภาคกลาง ประกอบด้วย 22 จังหวัด แบ่งเป็นภาคกลางตอนบา 7 จังหวัด คือ กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และอุทัยธานี ส่วนภาคกลางตอนล่าง 15 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ชัยนาท อ่างทอง และกุรงเทพมหานคร มีพื้นที่ทั้งหมด 91.795.1 ตารางกิโลเมตร
ลักษณะภูมิประเทศ
      ลักษณะภูมิประเทศของภาคกลางเป็นที่ราบที่เกิดจากการทับถมของเศษดิน หิน กรวด และทรายที่ถูกพัดพา ซึ่งบริเวณภาคกลางนี้ นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเคยเป็นแอ่งแผ่นดินขนาดใหญ่ เมื่อเกิดการทับถมกันเป็นเวลานานประกอบกับการเกิดการยกตัวของเปลือกโลก ทำให้ที่ราบเหล่านี้มีภูเขาโดดกระจายอยู่ทั่วไปเช่น ในเขตจังกวัดลพบุรี นครสวรรค์ และชัยนาท ซึ่งสันนิษฐานว่า ภูเขาเหล่านี้เป็นเกาะที่อยู่ในทะเลมาก่อน เพราะในชั้นหินของภูเขาพบซากของสัตว์ทะเลอัดตัวแน่นอยู่โดยทั่วไป
      การเปลี่ยนแปลงทางกรณีวิทยา ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศในเขตภาคกลางดังนี้
      1. เทือกเขาในภาคกลาง จะอยู่ทางตอนเหนือของภาคตะวันออกและตะวันตกซึ่งเป็นภูเขาที่ต่อเนื่องมาจากภาคอื่นทั้งสิ้น คือ ตอนบนต่อเนื่องจากภาคเหนือ ทางตะวันตกเป็นเป็นภูเขาของภาคตะวันตก เช่นเดียวกันกับภาคภาคตะวันออกที่เป็นขอบต่อเนื่องมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูเขาในภาคกลางส่วนมากสูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ซึ่งเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่
เทือกเขาเพชรบูรณ์ 1 ,เทือกเขาเพชรบูรณ์ 2 ,เทือกเขาถนนธงชัย
      2. ที่ราบในภาคกลาง ภาคกลางมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบกว้างใหญ่ โดยแบ่งออกได้ดังนี้ ที่ราบภาคกลางตอนบน ,ที่ราบภาคกลางตอนล่าง ,ขอบที่ราบ
     3.
แม่น้ำในภาคกลาง แม่น้ำที่สำคัญของภาคกลาง ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา ,แม่น้ำลพบุรี ,แม่น้ำน้อย ,แม่น้ำท่าจีน
ลักษณะภูมิอากาศ
     ลักษณะภูมิอากาศของภาคกลางเป็นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ทั้งนี้เพราะภาคกลางมีเทือกเขาล้อมรอบ 3 ด้าน ยกเว้นทางด้านใต้ที่ติดกับอ่าวไทยจึงมีผลทำให้ภาคกลางเป็นเขตอับฝน โดยเฉพาะลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นลมที่พัดพาความชุ่มชื้นมาจากทะเลอันดามัน ส่วนทางตอนบนของภาคกลางมีลักษณะภูมิอากาศเหมือนภาคเหนือ หนาวในฤดูหนาว ร้อนแห้งแล้งในฤดูร้อนฤดูกาลของภาคกลาง แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
      1.ฤดูฝน ภาคกลางเริ่มฤดูฝนในช่วงปลายเดือน พฤษภาคม หรือต้นเดือน มิถุนายน โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จะนำฝนมาตกเป็นแห่ง ๆ ในบริเวณไม้กว้างนัก ประมาณเดือนสิงหาคมและกันยายน เป็นระยะที่ฝนตกมากและกระจายทั่วไปเป็นเวลานานฤดูหนาว
      2.ฤดูหนาว จะเริ่มเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม แต่ช่วงเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายนเป็นช่วงของการเปลี่ยนฤดู จะเริ่มมีลมเย็นพัดจากตอนบนลงไปตามลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า ลมข้าวเบา หรือลมว่าว มีระยะเวลา 3 เดือน
      3.ฤดูร้อน เริ่มราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายนอุณหภูมิจะสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคพื้นที่ทวีป อากาศจะร้อนกว่าพื้นน้ำจึงทำให้เกิดลมพัดจากอ่าวไทยขึ้นไปตามแม่น้ำเจ้าพระยา เรียกว่า ลมตะเภา และทุกปีในช่วงเดือนเมษายนจะเป็นระยะเวลาที่มีอากาศร้อนที่สุด
ทรัพยากรธรรมชาติ
      ภาคกลางได้ชื่อว่าเป็นภาคอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศ เพราะเป็นเขตที่มีที่ราบกว้างใหญ่อาชีพหลักของประชากร คือ การเพาะปลูก เพราะเป็นเขตที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ทรัพยากรที่สำคัญ ได้แก่
       1. ทรัพยากรดิน ดินในภาคกลางแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
   - ดินบริเวณที่ราบภาคกลางตอน บนโดยทั่วไปดินตะกอนเก่าที่ผ่านการสึกกร่อนมานามไม่เหมาะในการเพาะปลูกเหมือนภาคกลางตอนล่างเพราะ เมื่อถึงฤดูแล้งน้ำในดินจะแห้ง ทำให้ดินจับกันแข็งทันที แต่ในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน จะสามารถปลูกพืชได้เหมือนที่ราบภาคกลางตอนล่าง
   - ดินบริเวณที่ราบภาคกลางตอนล่าง ส่วนใหญ่เป็นดินตะกอนน้ำพาตามลุ่มแม่น้ำต่างๆ และจะพัดพาไปทับถมกลายเป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากน้ำ
      2. ทรัพยากรน้ำ น้ำในภาคกลางอุดมสมบูรณ์มากกว่าภาคอื่น แหล่งน้ำที่สำคัญ คือ 1.น้ำผิวดิน ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่กลอง ป่าสัก ท่าจีน บางปะกง เป็นต้น ส่วนบึงได้แก่ บึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ เป็นต้น และเขื่อน 2. น้ำใต้ดิน เมื่อภาคกลางเป็นภาคที่มีน้ำมาก การใช้น้ำบาดาลจึงค่อนข้างมีมากเพราะขุดน้ำใต้ดินมาใช้ในระดับที่ไม่ลึกมากนัก
     3. ทรัพยากรแร่ธาตุ ภาคกลางเป็นภาคที่มีทรัพยากรแร่ธาตุน้อย ทั้งนี้เพราะโครงสร้างทางธรณีวิทยาเป็นหินเปลือกโลกยุคใหม่ ซึ่งแร่ที่พบมาก
      4. ทรัพยากรป่าไม้ ลักษณะ องป่าไม้ในภาคกลางเป็นป่าเบญจพรรณ ซึ่งถือว่าเป็นป่าไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง เพราะมีไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจหลายชนิด
ลักษณะทางวัฒนธรรม
      1. เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ในภาคกลางมีเชื้อชาติไทยที่ผสมผสานจากภาคต่าง ๆ และมีสำเนียงภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างไปจากคนไทยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพราะได้รับอิทธิพลจากขอม ในภาคกลางมีชนกลุ่มน้อยอยู่ 2 กลุ่ม คือกลุ่มชาวเขา เช่น กะเหรี่ยง แม้ว และเย้า ซึ่งจะอยู่ในเขตภูเขาของจังหวัดเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร สุโขทัย และกลุ่มชนเมือง ได้แก่ พวนและมอญ ซึ่งกระจายอยู่ ทั่วไป เช่น จังหวัดปทุมธานี ราชบุรี นนทบุรี ลพบุรี เป็นต้น แต่ชนกลุ่มน้อยเหล่านี้ไม่สร้างปัญหา เพราะมีจำนวนน้อยและมีความเป็นไทยเพราะอยู่ร่วมกับคนไทยมานาน และเนื่องจากภาคกลางเป็นศูนย์กลางการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ ดังนั้นจึงสามารถเผยแพร่วัฒนธรรมธรรมประเพณีไปทั่วประเทศ จนมีลักษณะผสมผสานกลมกลืนกับประชากรในภาคอื่น ๆ ได้
      2. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ในภาคกลางนับถือพระพุทธศาสนา แต่มีศาสนาอื่น ๆ ปะปนอยู่บ้าง เช่น อิสลาม คริต์ เป็นต้น
     3. ภาษา ใช้ภาษาไทยภาคกลางเป็นภาษาราชการ และเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากเขมรจึงใช้คำราชาศัพท์4. การกระจาย และความหนาแน่นของประชากร
ภาคกลางได้ชื่อว่าเป็นภาคที่มีความเจริญมากที่สุดของประเทศ จึงเป็นที่มีประชากรหลั่งไหลเข้าแสวงหาโชคในเขตเมืองใหญ่ๆ ทำให้ภาคกลางมีประชากรมากเป็นอันดับ 2 รองจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ประมาณ กว่า 19 ล้านคน ( พ.ศ. 2544 )


เศรษฐกิจ
ลักษณะทางเศรษฐกิจของภาคกลางมีดังนี้
       1. ด้านการผลิต ได้แก่
   1.1 การเพาะปลูก
   1.2 การเลี้ยงสัตว์
   1.3 การทำเหมืองแร่
   1.4 อุตสาหกรรม
      2. ด้านการบริโภค ประชากรในภาคกลางมีระดับรายได้เฉลี่ยสูง เพราะมีอาชีพหลากหลายทั้งเกษตร อุตสาหกรรม และการบริการ ทำให้ลักษณะการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย และบริโภคหลากหลาย เพราะมีสินค้าและบริการให้เลือกมากมาย และสะดวกสบาย การบริการของรัฐเกี่ยวกับการบริการพื้นฐานก็พร้อมมากกว่าภาคอื่น
      3. ด้านการกระจาย ภาคกลางเป็นศูนย์กลางความเจริญทุก ๆ ด้าน และเป็นศูนย์กลางด้านการผลิตสินค้าและบริการ ทำให้สินค้าและบริการกระจายไปทุกๆ ภาค ทั้งยังเป็นแหล่งรวมของผลิตภัณฑ์จากทุกภาค ทำให้ประชากรในภาคกลางได้รับการบริการพร้อมและสะดวกสบาย ในด้านการกระจายรายได้ก็ยังมีปัญหาระหว่างกลุ่มผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่ส่วนใหญ่อยู่ในชนบท กับอุตสาหกรรม ละการบริการซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในชุมชนเมือง โดยเฉเพราะกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพราะรายได้ของทั้งสองกลุ่มนี้จะแตกต่างกัน
      4. ด้านการแลกเปลี่ยน ลักษณะการแลกเปลี่ยนจะใช้เงินตราและเครดิต โดยใช้สถาบันทางการเงินทุกประเภท และรวมกลุ่มกันเพื่อช่วยเหลือกันทางเศรษฐกิจ ( เช่น สหกรณ์ ) มากขึ้นนอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนด้านเศรษฐกิจของภาคกลาง สามารถดำเนินการได้อย่างสะดวกราดเร็วเพราะความเจริญด้านการคมนาคมขนส่ง และการสื่อสารโทรคมนาคม
การคมนาคมขนส่ง
      ภาคกลางเป็นภาคที่มีความเจริญด้านการคมนาคม ทุกประเภท ทั้งนี้เพราะภาคกลางเป็นศูนย์กลางของความเจริญทางด้านเศรษฐกิจ สังคม ประกอบกับสภาพทางภูมิศาสตร์เหมาะในการพัฒนาการคมนาคมขนส่งทุกประเภท ซึ่งได้แก่

      1. การคมนาคมขนส่งทางบก
   -ทางรถยนต์ ภาคกลางเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางคมนาคมเกือบทุกส้นทางของประเทศ มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านการคมนาคมขนส่งมากกว่าภาคอื่น ๆ แต่สภาพการเดินทางโดยรถยนต์ของภาคกลางมีปัญหาด้านการจราจรติดขัดมาก โดยเฉพาะภายในเขตกรุงเทพฯ
   -ทางรถไฟ จุดศูนย์กลางกาคมนาคมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ หรือหัวลำโพง ปัจจุบันการคมนาคมประเภทนี้ได้รับการพัฒนาขึ้นมากในระยะทางไกลๆ
      2. การคมนาคมขนส่งทางน้ำ แม่น้ำสำคัญของภาคกลาง คือ แม่น้ำเจ้าพระยา เส้นทางแม่น้ำจึงมีความสำคัญในด้านการคมนาคมมาก ปัจจุบันยังมีการใช้เส้นทางเรือในการเดินทางตามลำคลองสายต่าง ๆ ของกรุงเทพฯ มีการใช้เส้นทางการเดินทางเพิ่มขึ้น เช่น คลองแสนแสบคลองรังสิต และคลองเปรมประชากร เป็นต้น
      3. การคมนาคมขนส่งทางอากาศ ภาคกลางเป็นกลางการบินภายในและระหว่างประเทศ เพราะมีสายการบินต่างๆ แวะลงที่สนามบินดอนเมืองมากกว่า 40 สาย และขณะที่การเดินทางโดยเครื่องบินมีความสะดวกรวดเร็ว
      4. การสื่อสารโทรคมนาคม ศูนย์กลางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมทุกประเภทอยู่ในกรุงเทพฯ เช่น การไปรษณีย์โทรเลข โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ ตลอดจนโทรศัพท์เคลื่อนที่วิทยุมือถือ และโทรพิมพ์ เป็นต้น และขณะนี้มีการสื่อสารที่ทันสมัยเพิ่มความสะดวกในการติดต่อยิ่งขึ้น ได้แก่ ระบบสารสนเทศทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งเชื่อมโลกเข้าไว้เป็นหนึ่งเดียวทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ปัญหาสำคัญของภาคกลาง
      1. ปัญหาความยากจน ไร้ที่ทำกิน พื้นที่ในการประกอบอาชีพและการถือครองของประชากรลดน้อยลง เพราะถูกใช้ในการอุสาหกรรมด้านอื่นๆ ประชาชนส่วนใหญ่ยังมีรายได้ต่ำโดยเฉพาะในเขตเมืองใหญ่ที่ต้องต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจ
      2. ปัญหาการว่างงาน ทั้งนี้เพราะภาคกลางเป็นแหล่งรองรับการอพยพของประชากรทุกภาค แม้แต่แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทั้งที่ถูกฎหมายและผิดกฎหมาย ทำให้ตลาดแรงงานเกิดภาวะคนล้นงาน และเป็นภาคที่มีปัญหาการว่างงานของประชาชนมากที่สุด
      3. ปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด โสเภณี ในอดีตเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาจากความยากจนและไร้งานทำ ตลาดแรงงานมีไม่เพียงพอกับความต้องการของประชาชน ทำให้ต้องหันไปประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมาย ส่วนใหญ่มักเกิดกับผู้ขาดโอกาสทางการศึกษา แต่ในปัจจุบันปัญหายาเสพติดได้แพร่ระบาดเข้าไปสู่คนทุกระดับ ทุกวัย และทุกอาชีพ โดยเฉพาะในวัยที่กำลังศึกษาเล่าเรียน ถือได้ว่าเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติ
      4. ปัญหาไร้ที่อยู่อาศัยและแหล่งเสื่อมโทรม การอพยพเข้ามาอยู่ในภาคกลางของประชาชนทุกภาคทำให้ เกิดเป็นชุมชนแออัดเพิ่มมากขึ้นรวมทั้งประชาชนที่ไม่มีที่พักเป็นคนจรจัดอยู่ตามท้องถนนทั่วไป
      5. ปัญหาการจราจร ภาคกลางเป็นภาคที่มีการจราจรติดขัดในเมืองใหญ่ๆ โดยเฉพาะกรุงเทพฯ และปริมณฑล
      6. ปัญหามลพิษที่เกิดกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาขยะ อากาศเป็นพิษ น้ำเสีย เสียงดัง ทั้งนี้เพราะการเพิ่มของประชากรมีมากเกินไป
แนวทางแก้ไขปัญหา
      ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในภาคกลางล้วนเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงและต่อเนื่องกัน การแก้ไขปัญหาหนึ่งปัญหาใดก็เป็นผลต่ออีกหลาย ๆ ปัญหาด้วย จึงเป็นเรื่องค่อนข้างยาก การดำเนินการแก้ไขปัญหาของภาคกลาง แนวทางการแก้ไขปัญหาในภาคกลางยังทำให้ได้ดังนี้
      1. ขยายเขตอุสาหกรรมไปยังส่วนภูมิภาค เพื่อสกัดกั้นการอพยพเข้าสู่เมือง ในขณะนี้มีเขตอุตสาหกรรมในทุกภาค และหลายจังหวัดในภาคกลางรอบนอก
      2. ปรับปรุงการศึกษาให้มีมาตรฐานเท่าเทียมกันทั่วทุกภาค จะเห็นว่ามีมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคครบถ้วน เพื่อไม่ต้องเข้ามาศึกษาในกรุงเทพฯ
      3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชนในทุกภูมิภาค เพื่อห้มีรายได้และสร้างความรักความผูกพันต่อท้องถิ่นของตนให้มากขึ้น
      4. มีการควบคุมและกำจัดสิ่งปฏิกูลของบ้านเรือนและโรงงานต่างๆ อย่างถูกวิธี เช่น น้ำเสียจากโรงงานต้องมีระบบขจัดน้ำเสียก่อนทิ้งลงสู้แม่น้ำลำคลอง ส่วนขยะจากบ้านเรือนให้ความรู้ในการขจัด เช่น จัดประเภทขยะก่อนทิ้ง
      5. จัดระเบียบทางสังคมโดยใช้มาตรการเดขาดกับการทำผิดกฎหมายในเรื่องต่าง ๆ เช่น การค้าบนทางเท้า การทิ้งเศษกระดาษ การขับรถผิดกฎจราจร การใช้แรงงาน การค้าประเวณี โรงงานอุสาหกรรมปล่อยควัน และน้ำเสีย
      6. อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ตัวอย่างแนวทางการพัฒนาตามโครงการพระราชดำริ ได้แก่
* โครงการพัฒนาพื้นที่ภูขัด ภูเมี่ยง ภูสอยดาว จังหวัดพิษณุโลก
* โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ จังหวัดกำแพงเพชร









ภาคใต้
ลักษณะทางกายภาพ
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/P7/81.jpg

      ที่ตั้งและขนาด ภาคตะวันตกมีลักษณะภูมิประเทศเป็นหุบเขา และภูเขาสลับซับซ้อน แม่น้ำที่เกิดขึ้นมีลักษณะไหลเชี่ยว เป็นภาคที่มีสภาพความเป็นธรรมชาติสูงซึ่งเป็นสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว โดยมีพื้นที่อยู่ระหว่าง ละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ถึง 17 องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 98 องศาตะวันออกถึง 100 องศาตะวันออก มีพรมแดนติดต่อกับพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
   1.ทิศเหนือ จรดภาคเหนือ
   2.ทิศใต้ จรดภาคใต้
   3.ทิศตะวันออก จรดภาคกลาง
   4.ทิศตะวันตก จรดสาธารณรัฐสังคมนิยมแห้งสหภาพพม่า ( เมียนมาร์ )
      ภาคตะวันตกประกอบด้วย 5 จังหวัดคือ ตาก กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ภาคตะวันตกมีขนาดพื้นที่ 53,679 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีส่วนที่ถือว่าแคบที่สุดของประเทศ คือ บริเวณตำบลคลองวาฬ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความกว้างประมาณ 10.6 กิโลเมตร จังหวัดกาญจนบุรีมีพื้นที่มากที่สุด ส่วนจังหวัดราชบุรีมีพื้นที่น้อยที่สุด
ลักษณะภูมิประเทศ
      ภาคใต้เกิดจากการยกตัวของเปลือกโลกในด้านชายฝั่งทะเลตะวันออก ทำให้เกิดชายฝั่งที่ราบเรียบ ส่วนทางด้านตัวตกเกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลก ทำให้เกิดชายฝั่งเว้าแหว่งมีเกาะแก่งมากมาย ซึ่งภาคใต้มีเกาะมากถึง 200 เกาะ
      1. เทือกเขาในภาคใต้  เทือกเขาภูเก็ต , เทือกเขานครศรีธรรมราช , เทือกเขาสันกาลาคีรี
      2. ชายฝั่งทะเลอันดามัน  ลักษณะเป็นฝั่งทะเลจม เพราะเกิดจากการทรุดตัวของเปลือกโลก ได้แก่ จังหวัดระนองปึถงจังหวัดสตูล มีลักษณะเว้าแหว่งลึกและชัน หาดที่มีชื่อเสียง ได้แก่ หาดสุรินทร์ หาดราไวย์ ในจังหวัดภูเก็ต เกาะใหญ่ที่สุด คือ เกาะภูเก็ต รองลงมาคือ เกาะตะรุเตา ซึ่งปัจจุบันเป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลของไทย
      3. แม่น้ำในภาคใต้   แม่น้ำของภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นสายสั้นๆ ทั้งนี้เพราะพื้นที่ของภาคใต้แคบ แนวเขาทางตอนกลางของภาคเป็นแนวปันน้ำให้ไหลไปทางตะวันตกและตะวันออก แม่น้ำที่สำคัญได้แก่
แม่น้ำปากจั่น หรือแม่น้ำกระบุรี มีความยาว 135 กิโลเมตร
แม่น้ำตาปี ยาว 232 กิโลเมตร มีต้นกำเนิดที่เขาใหญ่
แม่น้ำคีรีรัฐหรือแม่น้ำพุมดวง ยาวประมาณ 120 กิโลเมตร
แม่น้ำหลังสวน ยาวประมาณ 100 กิโลเมตร ต้นกำเนิดอยู่ในเขตจังหวัดระนองและชุมพร
ลักษณะภูมิอากาศ
      ลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้เป็นแบบมาสุมเมืองร้อน ( Am ) มีฝนตกชุกและมีความแห้งแล้งสลับกันในระยะเวลาสั้นๆ ทางตอนบนของภาคจะมีฝนน้อยกว่าทางตอนล่างอุณหภูมิ โดยเฉลี่ยอุณหภูมิของภาคใต้อยู่ระหว่าง 26 – 28 องศาเซลเซียส ความแตกต่างของอุณหภูมิฤดูร้อนและฤดูหนาว เฉลี่ยเพียง 2 – 3 องศาเซลเซียสปริมาณน้ำฝน ภาคใต้แทบทุกจังหวัดมีฝนตกมาก ได้แก่ ระนอง เฉลี่ย 4,275 มิลลิเมตรต่อปี จังหวัดที่มีฝนตกน้อยที่สุด คือ สุราษฎร์ธานี เฉลี่ย 1,170 มิลลิเมตรต่อปีฤดูกาลในภาคใต้ มีเพียง 2 ฤดู คือ
   - ฤดูฝน หรือฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะเริ่มเดือนพฤษภาคม เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เริ่มพัดเข้าสู่ภาคใต้ จะมีฝนชุกทั้ง 2 ด้านของชายฝั่ง แต่ละด้านตะวันตกซึ่งอยู่ด้านรับลม ฝนจะตกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงเดือนมกราคม มีนาคม จะมีปริมาณฝนน้อยลง ซึ่งในช่วงนี้ทางด้านตะวันตกของภาคจะมีปริมาณฝนตกน้อยที่สุด
   - ฤดูแล้ง หรือฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จะเริมในเดือนตุลาคม เมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ ประเทศไทย ซึ่งโดยทั่วไปของประเทศช่วงนี้จะไม่มีฝนตก เพราะเป็นลมที่นำความหนาวเย็นจากภาคพื้นที่ทวีปเข้าสู่ประเทศไทย แต่สำหรับภาคใต้นั้นลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจะพัดผ่านอ่าวไทย ก่อนจึงหอบเอา ความชุ่มชื้นจากทะเลเข้าสู่ฝั่งตะวันออกของภาคใต้ทำให้บริเวณด้านนี้มีฝนและพายุ
ทรัพยากรธรรมชาติ
      1. ทรัพยากรดิน ลักษณะดินในภาคใต้เป็นดินทรายมาก บริเวณที่ราบลุ่มและที่ราบเนินเขาจะมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่า จึงสามารถแบ่งลักษณะของดินในภาคใต้ดังนี้
   -ดินบริเวณชายฝั่ง เป็นดินทรายการระบายน้ำมีมาก ความอุดมสมบูรณ์จึงต่ำ พืชที่ทำการเพาะปลูกได้ดี คือ มะพร้าวดินบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ บางบริเวณได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเล จะมีความอุดมสมบูรณ์น้อย
   -ดินบริเวณภูเขาสูง เป็นเขตที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์ เพราะส่วนใหญ่เป็นดินที่มีหินประกอบมากการเพาะปลูกจึงทำได้ไม่ดี
      2. ทรัพยากรน้ำ ภาคใต้มีปริมาณน้ำฝนมากกว่าทุกภาค จึงทำให้การเพาะปลูกได้รับประโยชน์เต็มที่ แต่สภาพปัญหาคือ แม่น้ำในภาคใต้เป็นแม่น้ำสายสั้นๆ มีปริมาณน้ำน้อยจึงไม่เหมาะสมในการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ได้ แหล่งน้ำในภาคใต้หาได้ง่ายทั้งจากแหล่งน้ำบนผิวดินและใต้ดิน การสร้างเขื่อนจึงมีน้อย เขื่อนที่สำคัญมี 2 เขื่อนคือเขื่อนบางลาง, เขื่อนรัชชประภา
      3. ทรัพยากรแร่ ภาคใต้มีทรัพยากรแร่มากและเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญ คือ แร่โลหะ, เหล็ก, ฟลูออไรต์, ยิปซัม, ทองคำ, ถ่านหินลิกไนต์
     4.ป่าไม้ จะเห็นได้ว่า จังหวัดที่มีเนื้อที่ป่าสงวนมากที่สุด คือ ชุมพร ระนอง และนครศรีธรรมราชส่วนจังหวัดที่มีเนื้อที่ป่ามากที่สุดโดยเปรียบเทียบจาดเปอร์เซ็นต์เนื้อที่ป่าไม้ในปี พศ. 2541 คือ จังหวัดพังงา ยะลาและสุราษฎร์ธานี ลักษณะของป่าไม้เป็นป่าไม้ผลัดใบ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญคือ ยางพารา นอกจากนั้นก็ยังมีป่าชายแลน ป่าพรุ ( พรุคือ บริเวณที่มีน้ำขัง มีทั้งพรุน้ำจืดและพรุน้ำเค็ม )
ลักษณะทางวัฒนธรรม
      1. เชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทย ซึ่งมีจำนวนมากของภาค หรือที่เรียกว่า ไทยพุทธ รองลงมาเป็นชาวไทยเชื้อสายมุสลิม และมีชนกลุ่มน้อยหลายเผ่า เช่น กลุ่มชาวเล ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะแถบจังหวัดสตูล อาชีพหลักคือการประมง เป็นกลุ่มชนที่มีความล้าหลัง ปัจจุบันทางรัฐบาลเข้าไปให้ความช่วยเหลือด้านสังคมส่งเสริมด้านความเป็นอยู่และการศึกษา โดยเรียกชื่อกลุ่มนี้ว่า ชาวไทยใหม่ อีกกลุ่มหนึ่งคือ เงาะซาไก อยู่ในแถบจังหวัดยะลา ปัจจุบันมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้มีการจดทะเบียนบ้านและให้ใช้นามสกุลศรีธารโต ตามท้องถิ่นที่อยู่ คือ อำเภอศรีธารโต ซึ่งชนกลุ่มน้อยทั้ง 2 กลุ่ม สันนิษฐานว่าเชื้อชาติของเมลานีเซียน ซึ่งเป็นเผ่าพันธุ์หนึ่งของนิกรอยด์
      2. ศาสนา ประชากรส่วนใหญ่ของภาคนับถือพระพุทธศาสนา และนับถือศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในสี่จังหวัด คือ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และสตูล
      3. ภาษา ส่วนใหญ่จะใช้ภาษาไทย แต่สำเนียงแตกต่างไปจากภาคกลาง และบริเวณที่มีชาวไทยมุสลิมอาศัยอยู่มากใน 4 จังหวัด คือ ยะละ ปัตตานี นราธิวาส และสตูลนั้นพูดภาษามลายู โดยส่วนใหญ่ภาษาเขียนของชาวไทยมุสลิม เรียกว่า ยาวี ซึ่งเป็นตัวอักษรที่ชาวชวาดัดแปลงมาจากอักษรของภาษาอาหรับ
      4. การกระจายและความหนาแน่นของประชากร จากข้อมูลปี พ.ศ. 2546 ประชากรในภาคใต้มีจำนวน 8,522,465 คน จังหวัดที่มีประชากรมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช จังหวัดที่มีประชากรน้อย และนาแน่นน้อยที่สุดคือ ระนอง ส่วนภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด บริเวณที่มีประชากรกระจายอยู่มากคือ ที่ราบชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก

เศรษฐกิจ
      การประกอบอาชีพทางเศรษฐกิจในภาคใต้ ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศ ประชาชนที่อยู่บนพื้นที่ราบก็จะเพราะปลูกข้าว ยางพารา มะพร้าว ผลไม้ต่าง ๆ ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลก็จะประกอบอาชีพทำการประมง เป็นต้น ทำให้ผลผลิตที่ได้มีหลากหลายประเภท กิจกรรมทางเศรษฐกิจของภาคใต้มีลักษณะดังต่อไปนี้
      1. ด้านการผลิต กิจกรรมด้านการผลิตที่สำคัญ ๆ คือ
1.1 การเพาะปลูก พืชที่สำคัญของภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว และผลไม้
1.2 การประมง ภาคใต้มีอาชีพทำการประมงกันมาก ทั้งน้ำจืดและ
1.3 การทำป่าไม้ ป่าไม้ในภาคใต้เป็นป่าดงดิบและป่าชายแลนมาก
1.4 การทำเหมืองแร่ ภาคใต้เคยมีการทำเหมืองแร่กันมากอย่างกว้างขวาง
1.5 การอุตสาหกรรม * อุตสาหกรรมพื้นบ้าน ได้แก่ การทอผ้า * อุตสาหกรรม สมัยใหม่ เช่น อาหารกระป๋อง โรงงานผลิตกาแฟ * อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นกิจกรรมที่สร้างรายได้มาก ทั้งภูเขา ทะเล น้ำตก ป่าไม้ เกาะต่าง ๆ
      2 ด้านการบริโภค ลักษณะการบริโภคของประชากรในภาคใต้เหมือนกับทุกภาคคือ ได้รับการบริการด้านสินค้าและการบริการจากทุกภาค และยังเป็นแหล่งวามสินค้าจากต่างประเทศหลากหลายประเทศ ทำให้มีโอกาสเลือกบริโภคสินค้าและบริการได้มากขึ้น
      3. ด้านการกระจาย การคมนาคมขนส่งจะกระจายสินค้าและบริการให้ทั่วถึงอยู่เฉพาะในชุมชนเมือง ยังมีท้องถิ่นอีกเป็นจำนวนมากที่ยังมีการติดต่อกันไม่สะดวก ทั้งนี้เพราะลักษณะภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ดังนั้นสินค้าและบริการบางอย่างจึงยังไปไม่ทั่วถึง
การคมนาคมขนส่ง
      ภาคใต้เป็นภาคที่รัฐบาลให้ความสำคัญ กำลังพัฒนาให้เป็นเขตอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลทางภาคใต้ โดยรัฐมีนโยบายสร้างสะพานเศรษฐกิจไทย เชื่อมทะเลอันดามันตอนใต้หรือทะเลช่องมะละกา ( จังหวัดกระบี่ ) กับอ่าวไทย (จังหวัดนครศรีธรรมราช) ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางเดนเรือจากตะวันออกกลางมาตะวันออกไกลได้ 800-2,800 กิโลเมตร และสามารถหลีกเลี้ยงการขนส่งทางเรือผ่านช่องแคบมะละกา ซึ่งมีความแออัดมาก โดยประเทศไทยจะร่วมมือกับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น คูเวต เปลเยี่ยม เส้นทางนี้ประกอบด้วยถนนทางด่วน ทางรถไฟรางคู่มาตรฐาน ท่าเรือนำลึกที่จังหวัดกระบี่ มี 2 แห่ง และที่ขนอมมี 2 แห่ง อุปกรณ์การขนถ่ายสินค้าทันสมัย และท่อลำเลียงสำหรับส่งน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเคมี และน้ำ ส่วนการคมนาคมขนส่งของภาคใต้มีดังนี้
      1. การคมนาคมขนส่งทางบก เช่น ทางรถยนต์ ภาคมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 คือ ถนนเพชรเกษม ซึ่งถือเป็นทางหลวงที่ยาวที่สุดของประเทศ เป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญใน
      2. การคมนาคมขนส่งทางน้ำ ส่วนใหญ่เป็นการคมนาคมทางทะเล เพราะมีท่าเรือน้ำลึกของชายฝั่งทะเลทั้ง 2 ด้าน เช่น ที่ภูเก็ต และสงขลา
      3. การคมนาคมขนส่งทางอากาศ ภาคใต้มีการขนส่งทางอากาศในจังหวัดที่สำคัญของภาค เช่น ภูเก็ต สงขลา นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี เป็นต้น
      4. การสื่อสารโทรคมนาคม ภาคใต้มีการบริการด้านการสื่อสารที่ทันสมัยเหมือนกับภูมิภาคอื่น ทั้งนี้เพราะภาคใต้กำลังขยายตัวด้านเศรษฐกิจทุกประเภท

ปัญหาสำคัญของภาคใต้
      1. ปัญหาสถานการณ์ความไม่สงบ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี และ นราธิวาส
      2. ปัญหาชายแดนหนีภาษี โดยเฉพาะทางชาดแดนภายใต้ติดต่อกับมาเลเซียเป็นเขตที่มีการลักลอบขนสินค้าหนีภาษีกันมาก เช่น แร่เถื่อน สินค้าปลอม เป็นต้น
      3. ปัญหาสิ่งแวดล้อม การพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ของภาคใต้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ การทำลายป่าไม้ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรทางทะเลอันเนื่องมาจากการทำประมง การทำลายป่าชายเลน การปล่อยน้ำเสียและขยะมูลฝอยจากประชาชนในเมือง และโรงงานอุตสาหกรรม
      4. ปัญหาการขยายเขตน่านน้ำ เพราะประเทศเพื่อนบ้านประกาศขยายน่านน้ำเป็น 200 ไมล์ทะเล ทำให้เป็นปัญหาต่อเขตน่านน้ำไทย และการประมงของไทย
      5. ปัญหาน้ำท่วมและอันตรายจากพายุ ภาคใต้ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่ก่อให้เกิดความเสียหายแทบทุกปี ได้ประสบกับปัญหาคลื่นยักษ์สึนามิ ถล่ม 6 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระยอง ตรัง และสตูล ทุกปีภาคใต้ก็จะประสบกับปัญหาอุทกภัยเสมอ
แนวทางการแก้ไขปัญหา
      1.นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 104/2548 ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติเรียกโดยย่อว่า กอส. รวมทั้งสิ้น 48 คน มีนายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการและศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี เป็นรองประธานกรรมการ คณะกรรมการอิสระชุดนี้จะทำหน้าที่ร่วมกันหาแนวทางแก้ไยปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เสนอแก่รัฐบาล
      2.เพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานตามจะได้ที่มีการลักลอบขนถ่ายสินค้า
      3.ส่งเสริมด้านการศึกษา แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อปลูกฝังให้ประชาชนเกิดความรักในท้องถิ่นของตน
      4.เจรจาปัญหาน่านน้ำ เขตเศรษฐกิจจำเพาะกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยวิธีการทางการทูตเพื่อหาประโยชน์ร่วมกัน
      5.ในกรณีการแก้ไขปัญหาอุทกภัย ทางรัฐบาลได้มีนโยบายช่วยเหลือหลายประการ เช่น โครงการฟื้นฟูสภาพที่อยู่อาศัย ทั้งยังมีโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์ ซึ่งให้การฟื้นฟูและพัฒนาหมู่บ้านที่ประสบกับภัยจากพายุ โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากคลื่นยักษ์สึนามิและฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ทงภาครัฐและเอกชนโดยดำเนินการให้ประชาชนมีอาชีพและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
      6.เพิ่มมาตรการทางกฎหมายให้เข้มงวดรัดกุมยิ่งขึ้น










บรรณานุกรม
http://student.lcct.ac.th/~51138906/PJ/PW/8.html